Sunday, 22 December 2024 - 1 : 19 am
spot_img
spot_img
spot_img

Splendor-Biz

สื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ครบครันบนโลกออนไลน์

spot_img
spot_img
spot_img
Sunday, 22 December 2024 - 1 : 19 am

ปั้นสัตว์เศรษฐกิจ เพาะเลี้ยง “เพรียงทราย” ป้อนพ่อแม่พันธุ์กุ้ง SME D Bank พาเข้าถึงแหล่งทุนหนุนกิจการ โอบอุ้มผ่านวิกฤตโควิด

จากหนุ่มวิศวกรเมืองหลวง ขอเลือกเส้นทางเพื่อดูแลคนในครอบครัว ยามที่คุณแม่ก้าวสู่วัยชรา ตัดสินใจเก็บกระเป๋ากลับบ้านเกิด ขอเคียงข้างดูแลบุพการี พร้อมมองหาลู่ทางการทำมาหากิน เลือกทำธุรกิจส่วนตัว ทดลองเลี้ยงหอยหวานอยู่ระยะหนึ่ง จวบจนสบโอกาสเห็นวิธีเพาะเลี้ยง “เพรียงทราย” หรือไส้เดือนทะเล สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ จวบจนวันนี้เขากลายเป็นเจ้าของกิจการฟาร์มเพาะเลี้ยงเพรียงทรายทะเลจำนวนนับพันบ่อ ในชื่อ “สยามเพรียงฟาร์ม”

“พันกวี อังสุมาลี” เจ้าของธุรกิจเพาะเลี้ยง “เพรียงทราย” จังหวัดชุมพร เล่าถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจว่า เพื่อเพิ่มโอกาสดูแลแม่ได้มากขึ้น จึงตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน โดยอาชีพคนพื้นที่จะทำประมง เหมือนเป็นองค์ความรู้เป็นภูมิปัญญาที่สืบต่อกันมาอยู่แล้ว ทำให้มีความคิดว่าน่าจะทำอะไรที่สอดรับกับพื้นที่ เลือกเป็นเกษตรกรเริ่มต้นทดลองเลี้ยงหอยหวาน เมื่อปี 2549 แต่ทำได้เพียง 1-2 ปีเท่านั้น ก็ประสบปัญหาการส่งออก สินค้าหยุดชะงัก ทำให้ต้องมองหาอาชีพใหม่ ช่วงเวลานั้นได้เห็นกระบวนการเพาะเลี้ยงเพรียงทราย ที่เป็นผลงานของนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงนำมาต่อยอดสร้างธุรกิจในทุกวันนี้

สำหรับ เพรียงทราย คือ สัตว์ที่ใช้ชีวิตอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ บริเวณหาดทราย หรือป่าชายเลน เป็นอาหารคุณภาพสูงของพ่อแม่พันธุ์กุ้ง เมื่อยุคที่ประเทศไทยรุ่งเรือง กุ้งกลายเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เพรียงทรายเป็นสินค้าความต้องการสูงไปด้วย ใช้เป็นอาหารไม่ต่ำกว่าวันละ 1-2 ตัน แต่ด้วยวิธีจับเพรียงทรายกระทบต่อระบบนิเวศทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าชายเลนเป็นวงกว้าง จึงนำมาสู่กระบวนการเพาะเลี้ยงในฟาร์มแทน

คุณพันกวี เล่าว่า ในช่วงเวลานั้น องค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงยังไม่เป็นที่แพร่หลาย เนื่องด้วยเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ จึงแทบไม่พบผู้เลี้ยงจริงจัง ทำให้ความรู้เกิดขึ้นจากตำรา โดยระยะเวลา 2 ปีที่คลุกคลีอยู่กับการศึกษาหาความรู้ และทดลองเลี้ยง จนกระทั่งมั่นใจในอัตรารอดสูงขึ้น ความคุ้มทุนมากขึ้น การขยายบ่อเลี้ยงจึงตามมา จนถึงขณะนี้ประมาณ 1,000 บ่อ โดยมีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ร่วมส่งต่อโอกาส พาเข้าถึงแหล่งทุนนำมาขยายธุรกิจ

“การเพาะเลี้ยงเพรียงทราย จำลองบ่อให้มีลักษณะใกล้เคียงกับธรรมชาติ ไม่เพียงช่วยลดความสูญเสียป่าชายเลน แต่ยังสามารถควบคุมคุณภาพให้กลายเป็นอาหารชั้นเลิศของพ่อแม่พันธุ์กุ้ง มีความปลอดภัยสูง จึงลดโอกาสเกิดโรคในกุ้ง ส่วนราคาจำหน่ายสูงกว่าเพรียงทรายที่จับจากแหล่งธรรมชาติ”

ขณะที่ ระยะเวลาเลี้ยงเพรียงทรายจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ วัยอ่อน อนุบาลไว้ในกระบะพลาสติกขนาด 40×60 เซนติเมตร ประมาณ 2 เดือน แล้วจึงย้ายลงบ่อซีเมนต์ เพื่อเลี้ยงและบำรุงต่อจวบจนเข้าสู่เดือนที่ 6 จึงเริ่มจำหน่าย ซึ่งช่วงชีวิตของเพรียงทรายมีอายุราว 8 เดือน ส่วนการจำหน่าย จะส่งตลาดที่กระจายตามฟาร์มเลี้ยงกุ้งทั้งในจังหวัดชุมพร ภูเก็ต พังงา และจังหวัดชลบุรี รวมแล้วประมาณ 7-8 แห่ง ทำรายได้เฉลี่ยต่อเดือนหลักแสนบาท

คุณพันกวี กล่าวว่า ความสำเร็จของธุรกิจ ไม่เพียงองค์ความรู้และความพยายามเท่านั้น แต่ “เงินทุน” คือปัจจัยสำคัญ โดยการทำธุรกิจ เมื่อถึงจุดที่มองเห็นโอกาสขยายกิจการ อย่าปล่อยให้หลุดมือ เริ่มมองหาแหล่งเงินทุนทันที จนได้รู้จักกับ SME D Bank เข้าไปปรึกษาเรื่องสินเชื่อ นอกจากดอกเบี้ยจะไม่สูงแล้ว ธนาคารยังให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรับฟังและช่วยเหลือต่อเนื่อง

ไม่เพียงเท่านั้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ราคากุ้งเริ่มตกต่ำ การขนส่งมีปัญหา กุ้งไม่สามารถส่งออกได้ ผู้เลี้ยงกุ้งลดจำนวนการเลี้ยงลง หลายรายปิดฟาร์ม จากกำลังผลิตเคยสูงถึง 6 แสนตัน ตกลงมาเหลือประมาณ 2.5 แสนตัน แน่นอนว่าผลกระทบนี้ส่งสะท้อนถึงผู้เพาะเลี้ยงเพรียงทราย ซึ่งในวันนั้น SME D Bank เดินหน้าโอบอุ้มธุรกิจ อนุมัติวงเงินพิเศษช่วยเหลือให้เกิดสภาพคล่อง  วงเงินดังกล่าวนี้ไม่เพียงพยุงให้ธุรกิจก้าวต่อไปได้ แต่ยังช่วยพนักงานอีกหลายชีวิตให้ดำรงคงอยู่ในอาชีพต่อไป

ติดต่อ : “สยามเพรียงฟาร์ม”

เฟซบุ๊ค : Punkavee Pun

ข่าวล่าสุด