Thursday, 5 December 2024 - 12 : 45 am
spot_img
spot_img
spot_img

Splendor-Biz

สื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ครบครันบนโลกออนไลน์

spot_img
spot_img
spot_img
Thursday, 5 December 2024 - 12 : 45 am

4 เทรนด์ท้าทายเศรษฐกิจและธุรกิจไทย หากไม่เร่งปรับตัว เสี่ยงเติบโตชะลอลง

  • การเติบโตของเศรษฐกิจไทยพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวในสัดส่วนสูง สะท้อนจากสัดส่วนการส่งออกสินค้าและบริการต่อขนาดเศรษฐกิจที่มากถึง 66% ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ในต่างประเทศขึ้น เศรษฐกิจและธุรกิจที่เกี่ยวข้องจะได้รับความผันผวนตามไปด้วย
  • นอกจากนี้ การส่งออกและการท่องเที่ยวก็ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง เห็นได้จากใน 2 ช่วงเวลาที่ไม่มีวิกฤตในต่างประเทศ คือ ปี 2543-2551 และปี 2555-2562 พบว่า สัดส่วนการส่งออกสินค้าและบริการต่อขนาดเศรษฐกิจจะค่อนข้างคงที่ แต่อัตราการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจไทยปรับลดลง ดังนั้น ในช่วงข้างหน้า นอกจากการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการส่งออกและการท่องเที่ยวแล้ว จำเป็นจะต้องหาแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อที่จะให้เศรษฐกิจไทยกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น 
  • สำหรับในปี 2567 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เศรษฐกิจและธุรกิจไทยอยู่ในจังหวะฟื้นตัวต่อเนื่องหลังวิกฤตโควิดคลี่คลาย แต่การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะจีน และภูมิรัฐศาสตร์โลกอย่างการสู้รบในทะเลแดง รวมถึงต้นทุนสะสมของธุรกิจที่ยังสูง ทำให้เส้นทางการขยายตัวยังมีความไม่แน่นอน กระทบธุรกิจส่งออกให้คงจะขยายตัวต่ำ ส่วนจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติก็คาดว่าจะยังไม่กลับไปเท่ากับก่อนโควิด
  • ในระยะถัดๆ ไป เศรษฐกิจและธุรกิจไทยยังเผชิญกับ 4 เทรนด์ที่จะเพิ่มความท้าทายมากขึ้น ได้แก่ 1) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ 4) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ทั้งนี้ เทรนด์ต่างๆ เหล่านี้จะไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หากแต่จะยิ่งทำให้การดำเนินธุรกิจมีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว (Dynamic) โดยแต่ละเทรนด์จะส่งผลต่อธุรกิจ ทั้งในด้านโอกาสและผลกระทบ ดังนี้
4 เทรนด์สิ่งที่เกิดขึ้นโอกาสผลกระทบ
1) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลก โลกแบ่งเป็น 2 ขั้วความตึงเครียดในพื้นที่ต่างๆ นำมาสู่สงครามการค้า และสถานการณ์จะยืดเยื้อ+ การกระจายฐานการผลิตสู่ภูมิภาคอาเซียน เป็นผลบวกต่อธุรกิจที่อยู่ในซัพพลายเชนโลก เช่น กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนธุรกิจเพิ่ม อาทิ ค่าขนส่ง พลังงาน และวัตถุดิบ จากอุปสรรคการขนส่งและนโยบายเพื่อความมั่นคงของแต่ละประเทศการแข่งขันที่สูงขึ้น จากการระบายสินค้าของคู่แข่งไปยังตลาดเดียวกันกับสินค้าไทย เพื่อลดผลกระทบจากสงครามการค้า
2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอุณหภูมิโลกสูงขึ้นเร็ว เสี่ยงจะเกิดภัยพิบัติถี่และรุนแรงทั่วโลกออกกติกาด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ+ การเพิ่มเงินลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานหมุนเวียน รถยนต์ไฟฟ้า ตลาดใบรับรองไฟฟ้าสีเขียว ตลาดคาร์บอนเครดิต ฯลฯความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม/แล้ง การขาดแคลนน้ำ กระทบปริมาณและผลผลิตสินค้าเกษตรต้นน้ำ ด้าน PM2.5 กระทบสุขภาพต้นทุนธุรกิจเพิ่ม จากภาษี/ค่าธรรมเนียมคาร์บอน รวมถึงเกณฑ์การเงินยั่งยืน
3) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี โดยเฉพาะ AIการพัฒนาเทคโนโลยี AI มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง+ การลงทุนในเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต + เป็นโอกาสต่อธุรกิจ เช่น บริการทางการเงิน บริการสุขภาพ ดาต้าเซนเตอร์ คลาวด์โซลูชั่นธุรกิจที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี เสี่ยงสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน และส่งผลตามมาต่อตลาดแรงงาน  
4) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจำนวนประชากรไทยลดลง 4 ปีติดต่อกัน และไทยจะเป็นสังคมสูงวัยขั้นสุดยอดในปี 2572+ สินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุทั้งตลาดในประเทศและส่งออก เช่น อาหาร ยา การรักษาพยาบาลธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้น เผชิญการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนสูงขึ้นธุรกิจที่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นตลาดในประเทศ เผชิญการเติบโตของรายได้ที่ชะลอลง เช่น ค้าปลีก ก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์
  • ทั้งนี้ แต่ละเทรนด์สร้างโอกาสและผลกระทบต่อประเภทธุรกิจที่แตกต่างกันและอาจเป็นคนละช่วงเวลา ทำให้สุทธิแล้วอาจเร็วไปที่จะสรุปว่าเศรษฐกิจและธุรกิจไทยจะได้หรือเสีย อย่างไรก็ตาม ถ้าปรับตัวไม่ทันในการรับมือกับ 4 เทรนด์ท้าทายนี้ ก็มีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจและธุรกิจไทยจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอีกในช่วงข้างหน้า
รายงานวิจัยนี้จัดทำโดย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป โดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะ หรือ ข้อมูลที่เชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือที่ปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา ทั้งนี้ KResearch มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ชวน เสนอแนะ ให้คำแนะนำ หรือจูงใจในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ KResearch จะไม่รับผิดในความเสียหายใดที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลใดๆ ที่ปรากฎในรายงานวิจัยนี้ถือเป็นทรัพย์สินของ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) การนำข้อมูลดังกล่าว (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ไปใช้ต้องแสดงข้อความถึงสิทธิความเป็นเจ้าของแก่ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) หรือแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ ทั้งนี้ ท่านจะไม่ทำซ้ำ ปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข ส่งต่อ เผยแพร่ หรือกระทำในลักษณะใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษรจาก KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี)
Disclaimers 

 

ข่าวล่าสุด