Tuesday, 22 July 2025 - 8 : 39 pm
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_img
spot_img

Splendor-Biz

สื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ครบครันบนโลกออนไลน์

spot_img
spot_img
spot_img
Tuesday, 22 July 2025 - 8 : 39 pm

ทีมเยาวชนไทยจากภูมิภาคต่างๆ ร่วมแข่งขันในเวที ‘หนูน้อยจ้าวเวหา’ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุดประกายเสริมสมรรถนะเยาวชน ด้วยปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีโดรน

วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับและสถานีโทรทัศน์ Thai PBS จัดการแข่งขัน รายการ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2568 รอบคัดเลือกสนามที่ 3 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การแข่งขันในรายการ ‘หนูน้อยจ้าวเวหา’ เป็นการสร้างโอกาสและเสริมสมรรถนะให้กับเยาวชนไทย ในการนำความรู้ ทักษะและศักยภาพของเยาวชนไทยในด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีโดรน มาส่งเสริมให้เยาวชนมีเวทีประลองความสามารถและประลองปัญญา ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบการเขียน coding เป็นการสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนมีความสนใจและเรียนรู้ในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) อีกทั้งกิจกรรมดังกล่าว เป็นเวทีสำคัญในการพัฒนาการคิดเชิงวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ตลอดจนเสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรมในอนาคต

นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้มีความรู้ความสามารถในด้านการควบคุมและออกแบบอากาศยานไร้คนขับ โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างทักษะด้านความแม่นยำ ความรวดเร็ว การประสานงานในการทำงานเป็นทีม ตลอดจนการวางแผนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยสมาคมฯ คาดหวังว่า ในการแข่งขันในทุกสนาม ผู้เข้าแข่งขันจะสามารถยกระดับทักษะ ความเชี่ยวชาญ และองค์ความรู้ให้มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชนไทยในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเครื่องบินจำลองวิทยุบังคับ “หนูน้อยจ้าวเวหา” ชิงถ้วยพระราชทานฯ รอบคัดเลือกสนามที่ 3 ได้แก่
-ประเภทปีกหมุนประลองปัญญา ได้แก่ ทีม GP-Tech ลือคำหาญ จาก โรงเรียนลือคําหาญวารินชําราบ จ.อุบลราชธานี
-ประเภทยุทธวิธี ได้แก่ ทีมเป็นตาย่าน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
-ประเภทปีกหมุนประลองทักษะ ได้แก่ ทีมดงหลวงซิตี้ จาก โรงเรียนดงหลวงวิทยา จ.มุกดาหาร

โดยการแข่งขันในรอบคัดเลือกสนามที่ 4 จะจัดขึ้น ในวันที่ 15 – 17 สิงหาคม 2568 ณ โรงเรียนพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ Facebook Fanpage : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ

ข่าวล่าสุด