Saturday, 21 December 2024 - 11 : 43 pm
spot_img
spot_img
spot_img

Splendor-Biz

สื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ครบครันบนโลกออนไลน์

spot_img
spot_img
spot_img
Saturday, 21 December 2024 - 11 : 43 pm

ปี 2024 ส่งออกอาหารฮาลาลโดยการรับรองไปตลาด OIC โต 5.0% ไทยควรรุกตลาดซาอุดีอาระเบียและ UAE ก่อน

  • ปี 2020-2023 การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลของไทยไปตลาด OIC เติบโตสูงกว่าภาพรวมไปตลาดโลกกว่า 1 เท่าตัว ขณะที่ปี 2024 อาหารฮาลาลโดยการรับรองคือสินค้าศักยภาพของไทย ที่คาดว่าจะขยายตัวในตลาดนี้ได้ราว 5.0% เมื่อเทียบกับปีก่อน
  • ไทยควรรุกตลาดซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ให้ได้มากขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดศักยภาพที่อาหารและเครื่องดื่มฮาลาลสามารถเติบโตเพิ่มได้อีก อีกทั้งยังเป็นฐานกระจายสินค้าสำคัญไปประเทศอื่นๆ ที่จะทำให้ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น

มูลค่าการส่งออกอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลของไทยไปตลาด OIC[1] โตกว่าภาพรวมการส่งออกไปตลาดโลกถึง 1 เท่าตัว โดยในช่วงปี 2020-2023 เติบโตกว่า 14.5% ต่อปี ขณะที่ภาพรวมการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปตลาดโลกเติบได้ราว 7.5% ต่อปี (รูปที่ 1) ส่วนหนึ่งเพราะตลาด OIC เป็นตลาดผู้บริโภคมุสลิมขนาดใหญ่กว่า 57 ประเทศทั่วโลก ที่มีจำนวนประชากรรวมกันมากกว่า 1,200 ล้านคน อีกทั้งบางประเทศยังมีความมั่นคงทางอาหารต่ำ จากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเพาะปลูก ทำปศุสัตว์และแปรรูปอาหาร อาทิ กลุ่มประเทศในตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา จึงทำให้มีความต้องการนำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มสูง

ปี 2024 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลของไทยไปตลาด OIC น่าจะยังเติบโต 0.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน ท่ามกลางการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปตลาดโลกที่อาจหดตัวราว 0.8% เมื่อเทียบกับปีก่อน (รูปที่ 2)

              สินค้าที่น่าจะเติบโตต่อเนื่อง คือ อาหารฮาลาลโดยการรับรอง[1] ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวในตลาดนี้ได้ราว 5.0% เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการส่งออกอาหารทะเลกระป๋อง/  แปรรูปที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัว ตลอดจนความต้องการไก่สด/แช่เย็นแช่แข็ง ที่มากขึ้นในกลุ่มประเทศที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอ โดยเฉพาะมาเลเซียและประเทศในแถบตะวันออกกลาง อาทิ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ โอมาน ซาอุดีอาระเบีย ขณะที่สินค้าหลักอย่าง อาหารฮาลาลธรรมชาติ[2] ปีนี้คาดว่าอาจหดตัวราว 1.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน หลักๆ มาจากการส่งออกน้ำตาลทรายที่ปรับลดลง ทั้งด้านปริมาณและราคา


[1] อาหารฮาลาลโดยการรับรอง ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สินค้าประมง ไก่สด/แช่เย็นแช่แข็ง น้ำมันพืช ผลิตภัณฑ์จากข้าว นมและผลิตภัณฑ์

[2] อาหารฮาลาลธรรมชาติ ได้แก่ ข้าว น้ำตาลทราย ผักและผลไม้สด (แช่เย็นแช่แข็ง) ผักและผลไม้กระป๋อง/แปรรูป


[1] Organisation of Islamic Cooperation หรือ องค์การความร่วมมืออิสลาม

ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นคู่ค้าในตลาด OIC ที่ไทยน่าเข้าไปเจาะตลาดให้ได้มากขึ้น นอกเหนือจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารฮาลาลโดยการรับรอง โดยมีปัจจัยหนุนที่สำคัญ 2 ประการคือ

            1. เป็นตลาดนำเข้าอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลโดยการรับรองที่มีศักยภาพเติบโต สะท้อนจากการเป็นตลาดนำเข้าที่สำคัญ (รูปที่ 3) และมูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้ของทั้งสองประเทศ เติบโตเฉลี่ยได้ราว 7.4% ต่อปี ในช่วงปี 2019-2022 ท่ามกลางศักยภาพในการจับจ่ายที่มาก ด้วยรายได้เฉลี่ยประชากรต่อหัวที่สูงถึง 32,529 และ 51,908 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ[1] ซึ่งมากกว่าไทยถึง 4-7 เท่า


[1] World Economic Outlook Database-IMF, April 2024

2. เป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเป็นฐานการกระจายสินค้าไปสู่ประเทศมุสลิมอื่นๆ โดยเฉพาะสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่สามารถส่งออกสินค้าต่อไปยังกลุ่มประเทศ GCC ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน กาตาร์ และบาห์เรน ซึ่งกลุ่มประเทศดังกล่าว จะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานฮาลาลและการควบคุมไว้ร่วมกัน ซึ่งหากสินค้าของไทยผ่านข้อกำหนดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ ก็มีโอกาสที่จะเข้าไปเจาะตลาดอื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้

            นอกจากนี้ ไทยกำลังอยู่ระหว่างเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจหรือ Comprehensive Economic Partnership Agreement (CEPA) กับสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ ซึ่งหากมีผลบังคับใช้น่าจะช่วยผลักดันการส่งออกอาหารฮาลาลประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากสินค้าส่งออกสำคัญอย่างอาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป[1]

ภายใต้โอกาสทางการค้า ยังมีปัจจัยท้าทายที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องปรับตัว โดยเฉพาะในเรื่องของการแข่งขันและเงื่อนไขทางการค้าที่มีความเฉพาะเจาะจง  ดังนี้การแข่งขันกับคู่แข่งประเทศมุสลิม โดยเฉพาะกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นคู่แข่งที่ผู้บริโภคมุสลิมส่วนใหญ่ให้การยอมรับในมาตรฐานและเชื่อมั่นในคุณภาพการผลิตถูกต้องตามหลักศาสนา นอกจากนี้ นโยบายเร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศของคู่ค้า ที่เน้นการวิจัยและพัฒนา เพิ่มการลงทุนในธุรกิจเกษตรและอาหาร สะท้อนว่า ระยะต่อไปการพึ่งพาสินค้าอาหารฮาลาลนำเข้าของแต่ละประเทศอาจมีแนวโน้มชะลอตัวลง


[1] ในกลุ่มอาหารฮาลาลโดยการรับรอง สินค้าที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นำเข้าจากไทยมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง/แปรรูป (79%) อาหารปรุงแต่งประเภทพาสต้า (4%) ปลาแช่แข็ง (3%) ตามลำดับ

  • เงื่อนไขทางการค้าที่มีความเฉพาะเจาะจง เช่น ไก่สด/แช่เย็นแช่แข็ง ซึ่งไทยน่าจะมีโอกาสส่งออกได้มากขึ้น หลังจากการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ด้านการค้ากับซาอุดีอาระเบีย และซาอุดีอาระเบียให้การรับรองโรงงานไก่ของไทยเพิ่มขึ้น (รูปที่ 5) แต่การส่งออกสินค้าไปนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขจากตลาดปลายทางอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะมาตรฐานการผลิตที่เป็นไปตามกฎระเบียบที่แตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ของตลาดส่งออกอื่นๆ อาทิ การเชือดไก่

        ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องชั่งน้ำหนักเทียบความคุ้มค่ากับการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ โดยหากผู้ประกอบการสามารถปรับตัวรับกับเงื่อนไขดังกล่าวได้ อาทิ มีการทำข้อตกลงที่ชัดเจนระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย (ปริมาณตามที่กำหนด/ ขนาดสินค้าและราคา/ ระยะเวลาของคำสั่งซื้อที่คุ้มค่าต่อการลงทุน) เป็นต้น ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสที่จะสามารถขยายตลาดได้มากขึ้น จากตัวสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง สามารถจำหน่ายในราคาที่สูงขึ้น เพราะทั้งซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นับเป็นกลุ่มผู้บริโภคชาวมุสลิมขนาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูง

ข่าวล่าสุด