Thursday, 12 September 2024 - 8 : 31 pm
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

Splendor-Biz

สื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ครบครันบนโลกออนไลน์

spot_img
Thursday, 12 September 2024 - 8 : 31 pm
spot_img
spot_img

เจาะเทรนด์ธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ ปี 2564 ขยายตัว 5-10 % จาก 5 ปัจจัยเศรษฐกิจโลก

Key Highlight

การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวประมาณ 5-10 % จากปัจจัย

  • สงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนจีนย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้นการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมต่างๆ ในจีน มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศต่างๆ การพัฒนาโมเดลของสินค้าไอที และการพัฒนาเทคโนโลยีของสินค้าเกี่ยวเนื่องสำคัญ เช่น รถไร้คนขับ เป็นต้น Digital Society  Social distancing & Work from Home

สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย  ระบุว่า อัตราการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยของสินค้าชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ในปี 2563 ยังคงค่อนข้างสูงและฟื้นตัวต่อเนื่องหลังจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2563  ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลายลง และการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมสำคัญที่เกี่ยวเนื่องของโลกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กลุ่มโทรคมนาคม รวมถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์การแพทย์ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในปี 2563 รายไตรมาส ของอุตสาหกรรมวงจรพิมพ์ (PCB) อยู่ที่ระดับร้อยละ 83.0 ร้อยละ 78.3 ร้อยละ 77.2 และร้อยละ 87.3 ตามลำดับ  ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยรายไตรมาส ปี 2563 ของอุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้า(IC) อยู่ที่ร้อยละ 82.7 ร้อยละ 81.0 ร้อยละ 84.3 และร้อยละ 84.7 ตามลำดับ 

สำหรับดัชนีผลผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563  ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เช่นกัน  ทั้งนี้อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีผลผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 พบว่าดัชนีผลผลิต Hard Disk Drive , Integrated circuits (IC)  และ Printed Circuit Board Assembly(PCBA) เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9  ร้อยละ 11.1 และร้อยละ 33.4 ตามลำดับ

ด้านความต้องการของตลาดต่างประเทศ พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าอิเลคทรอนิกส์ของไทยในปี 2563 มีจำนวน 36,514.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6  โดยการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ   25.3 เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ที่รุนแรง ทำให้การผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์ของสหรัฐอเมริกาประสบปัญหา  หากพิจารณาการส่งออกรายผลิตภัณฑ์ พบว่ามูลค่าการส่งออก HDD , แผงวงจรไฟฟ้า และวงจรพิมพ์ มีจำนวน 10,680.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ , 7,155.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 1,309.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 2.0 , ลดลงร้อยละ 5.7 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออก HDD ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และ จีน ส่วนตลาดส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าสำคัญได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และ จีน ขณะที่ตลาดส่งออกวงจรพิมพ์หลัก ได้แก่ จีน , ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ

สำหรับแนวโน้มของอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์ในปี 2564  

สำนักวิจัยประเมินว่า อัตราการใช้กำลังการผลิตและการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรรมอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2564 มีแนวโน้มอยู่ในระดับค่อนข้างสูงต่อเนื่อง และสูงกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตและการผลิตในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ชัดเจน ตามความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการผลิตในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ส่วนการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 5-10  เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีแนวโน้มขยายตัว สงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ ทำให้นักลงทุนจีนย้ายฐานการผลิตมาไทยมากขึ้นเพื่อผลิตแล้วส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกา การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมต่างๆ ในจีน จากการที่จีนมีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศต่างๆ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด 19  การเปลี่ยนแปลง model ของสินค้า IT การพัฒนาเทคโนโลยีของสินค้าเกี่ยวเนื่องสำคัญ เช่น EV car , รถไร้คนขับ , อุตสาหกรรมทางการแพทย์ที่ต้องมีการสื่อสารกันมากขึ้น เป็นต้น รวมทั้งแนวโน้มการพัฒนาสู่สังคมดิจิตอลมากขึ้นเป็นลำดับและเทรนด์ของ social distancing & work from home   ทั้งนี้การส่งออก HDD สำหรับ Cloud Computing (กลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อการใช้งานการเก็บข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต) ยังคงได้แรงหนุนตามเทรนด์ IoT (Internet of Thing) และ Big Data ขณะที่ชิ้นส่วน HDD สำหรับใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)  ได้รับผลกระทบจากความต้องการของสินค้า PC ลดลงต่อเนื่อง

สำนักวิจัย มองว่า ผู้ผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์ของโลกส่วนใหญ่ยังคงใช้ไทยเป็นฐานการผลิตและยังไม่มีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ EEC ในรูปการขยาย/เพิ่ม line การผลิตของโรงงานเดิม ทั้งนี้การเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติสำหรับผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์ในไทยและในเวียดนามมีความแตกต่างกัน โดยการลงทุนในไทยส่วนใหญ่จะเป็นการขยายการลงทุนของผลิตภัณฑ์เดิม และเทคโนโลยีเดิม เช่น  กลุ่ม IC, PCB และ HDD รวมถึงกลุ่มสินค้าหลอดไฟ LED และ Compressors  เป็นต้น ขณะที่นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในเวียดนามส่วนใหญ่จะเป็นผู้ผลิตสินค้าอิเลคทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมและ high technology  จึงทำให้มูลค่าการส่งออกของเวียดนามเติบโตในระดับสูง นอกจากนี้ยังมี ปัจจัยเฝ้าระวัง ได้แก่ การระบาด COVID-19   กำลังซื้อของผู้บริโภค  ทิศทางของเงินบาท  และ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว

บทความโดย : นางสาว สมฤดี อัตชู สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

ข่าวล่าสุด

spot_img