Thursday, 12 September 2024 - 7 : 31 pm
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img

Splendor-Biz

สื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ครบครันบนโลกออนไลน์

spot_img
Thursday, 12 September 2024 - 7 : 31 pm
spot_img
spot_img

ไม่ยาก! หลักการใช้ “ภาวะกดดัน” ในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำอย่างไร ไปดู

หากจะพูดถึงเรื่องการทำงาน แน่นอนว่าหลายคนใฝ่ฝันอยากจะให้ผลการทำงานออกมาสำเร็จ และไม่มีเหตุปัจจัยใดๆ มาขัดขวางหรือบั่นทอนกำลังใจด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งในโลกของความเป็นจริงแล้ว คงเป็นไปได้ยากหากความสำเร็จจากการทำงานนั้นไม่มีปัญหาหรือแรงกดดันเสียเลย เพราะจะทำให้ชีวิตการทำงานดูจืดชืด ไร้ชีวิตชีวาน่าดู

เพราะการทำงานให้ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีเป้าหมาย และมีแผนงานที่จะต้องทำเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้น ดังนั้น “การสร้างภาวะกดดัน” ก็เป็นอีกแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่จะทำให้คุณทำงานจนสำเร็จได้ ทั้งนี้ เชื่อว่าหลายคนก็คงจะไม่ค่อยชื่นชอบกับคำว่า “ภาวะกดดัน” สักเท่าใดนัก

จากบทความของ คุณปรีชา ตรีสุวรรณ ประธานสมาพันธ์การค้าระหว่างประเทศ (Thailand Enterprise International Cooperation) หรือ TEIC ได้กล่าวถึงข้อดี-ข้อเสีย รวมไปถึงประโยชน์ของการทำงานภายใต้ภาวะกดดัน ซึ่ง Splendor-Biz มองว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการทำงานหรือการทำธุรกิจ โดยมีเนื้อหาใจความ ดังนี้

หลายท่านคงเคยประสบกับการทำงานภายใต้ภาวะกดดันกันมาบ้าง และคงอยากทราบถึงสาเหตุ และวิธีการจัดการกับ “ภาวะกดดัน” ผมจึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 และคิดว่าคงจะสร้างความกังวลคนกลายเป็นความกดดันในหลายแง่หลายมุมมอง ไหนจะต้องหยุดกิจการ ต้องรับผิดชอบพนักงาน ต้องจ่ายดอกเบี้ยธนาคาร และไหนจะต้องส่งเงินต้นธนาคาร หรืออื่น ๆ อีกจิปาถะ

วันนี้จึงนำเอาเรื่องที่โพสต์ไว้ในปีก่อน ๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง เพื่อให้กำลังใจแก่ทุกท่าน ที่ต้องผจญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในช่วงนี้ขอให้ทุกท่านผ่านไปให้จงได้ ครับ ลองอ่านกันดูครับ

1.ภาวะกดดันในการทำงาน คืออะไร

ภาวะกดดันในการทำงาน (Work Pressure) คือเงื่อนไขต่างๆ ในการทำงานของคน (conditions in one’s work) ซึ่งเป็นสาเหตุของความกังวลเป็นทุกข์ร้อนใจและความยุ่งยาก (that cause anxiety and difficulty) สิ่งที่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการทำงานภายใต้ภาวะกดดัน คือ มีบรรยากาศของความเคร่งเครียด มีความระมัดระวังตัวสูง เป็นไปอย่างไม่สบายใจ มีร่องรอยของความหงุดหงิด มีความเบื่อหน่ายงานปรากฏในเห็น สิ่งที่ไม่ควรถือว่าเป็นแรงกัดดัน ได้แก่ ความมุ่งมั่น ความจริงจัง และความเพียรพยายาม เพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีปกติอยู่แล้ว จึงไม่นับว่าเป็นการกดดันครับ

2.ผลของการทำงานภายใต้ภาวะกดดัน

ภาวะกดดัน ดูเหมือนจะทำให้เกิดผลไม่ดี แต่ที่แท้จริงแล้ว ภาวะกดดัน จะส่งผลกระทบทั้งในด้านดี และด้านไม่ดี เพราะการเลือกใช้ภาวะกดดันให้ถูกวิธีและถูกจังหวะเวลา จะให้ผลดีมากกว่าผลไม่ดี และบางคนก็ทำงานได้ดีที่สุดภายใต้ภาวะกดดัน ทั้งนี้ เราอาจแยกพิจารณาผลดีและผลไม่ดี ที่เกิดจากภาวะกดดัน ดังนี้

ผลดีของภาวะกดดัน ได้แก่

1.ทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ

2.ทำให้เกิดการพัฒนา

3.ทำให้นำศักยภาพที่มีออกมาใช้ให้เต็มที่

4.ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนไปสู่ความเจริญก้าวหน้า

ผลไม่ดีของภาวะกดดัน ได้แก่

1.ทำให้เกิดความเครียด

2.ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

3.ทำให้เกิดแรงต่อต้าน

4.ทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

5.ทำให้เกิดความอ่อนล้า

เมื่อได้พิจารณาถึงผลดีและผลไม่ดีแล้ว ก็จะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ว่าเมื่อใด ภาวะกดดันจึงจะส่งผลดี และเมื่อใดภาวะกดดันจะส่งผลไม่ดี จากนั้นจึงจะใช้ภาวะกดดันให้เกิดประโยชน์ในสถานการณ์ที่เหมาะสม

การใช้ภาวะกดดันต้องให้มีขนาดพอดี เหมาะกับคน และเหมาะกับเวลา มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี พึงระลึกไว้เสมอว่า คนบ้างานไม่จำเป็นต้องได้รับความสำเร็จ แต่คนที่ได้รับความสำเร็จในงาน มักจะเป็นคนบ้างาน ซึ่งเราอาจมีทางเลือกอื่นที่ทำให้ได้รับความสำเร็จในงานก็ได้

3.ประเภทของภาวะกดดัน

โดยทั่วไปภาวะกดดัน อาจจำแนกตามมุมมองของผู้เกี่ยวข้องได้หลายประเภท หากจะจำแนกตามสาเหตุใหญ่ๆ ก็สามารถจะแยกประเภทของภาวะกดดันได้ 2 ประเภท ได้แก่

1.ภาวะกดดันจากคน

2.ภาวะกดดันจากงาน

ภาวะกดดันจากคน คือความกดดันซึ่งบุคคลอื่นทำให้เกิดขึ้น จากการทำงานร่วมกันทำให้คนต้องเกี่ยวข้องผูกพันและเป็นสาเหตุของความกังวล เป็นทุกข์ร้อนใจ และมีความยุ่งยากในเรื่องคน ดังต่อไปนี้

1.มีความขัดแย้งทางบุคลิกภาพ

2.มีความขัดแย้งทางความคิด

3.มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

4.มีการถูกบีบคั้นจากผู้มีอำนาจ

5.มีการขัดขวางการทำงาน

6.มีการถ่วงรั้งการทำงาน

7.มีการกลั่นแกล้ง

8.มีการใส่ร้ายป้ายสี

9.มีการขาดงานมาก

10.มีลูกน้องที่ขีดความสามารถต่ำ ทำงานผิดพลาดบ่อย

11.มีลูกน้องที่ไม่ทำงาน

12.มีลูกน้องที่ขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ

13.มีนายที่เน้นงานจนมากเกินไป

14.มีนายที่ขาดมนุษย์สัมพันธ์

15.มีนานที่มีความสามารถต่ำ ให้ความช่วยเหลือไม่ได้ฯลฯ

ภาวะกดดันจากงาน จะมีลักษณะเกี่ยวข้องผูกพันกับตัวงานเป็นสาเหตุของความกังวลในเรื่องงาน เป็นทุกข์ร้อนใจและมีความยุ่งยากในเรื่องงาน ดังต่อไปนี้

1.ทำงานไม่ได้ตามเป้าหมาย

2.ทำงานไม่ได้คุณภาพ

3.ปริมาณงานมากเกินไป

4.ปริมาณงานน้อยเกินไป

5.งานจากต้นทางมาถึงล่าช้า

6.ทำงานผิดพลาด

7.งานคั่งค้าง

8.งานยุ่งยากสับสน

9.งานซ้ำซ้อน

10.งานที่ถูกกีดกัน

11.อุปกรณ์เครื่องมือไม่เหมาะสมกับงาน

12.เครื่องมือทำงานมีจำกัด

13.มีของเสียมาก

14.มีงานที่ต้องนำมาทำใหม่มาก

15.งบประมาณมีไม่สมจริงกับงานที่จะทำ ฯลฯ

วันนี้ขอนำมาฝากและขอให้ทุกท่านผ่านมันไปได้ด้วยดีทุกท่านครับ การทำงานแบบนี้มีความกดดันค่อนข้างสูง ในการที่ต้องรับผิดขอบงานทุกงานครับ ขอให้ลองนำไปดูกันครับเพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ทุก ๆ ท่าน โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่มีการระบาดรอบใหม่ หรือจะเรียกกว่าอะไรแต่มันก็ระบาด นั่นแหละ

รอบนี้เห็นว่ามีความเร็ว และมีจำนวนมากเสียด้วย นอกจากนั้น ยังเป็นสายพันธ์ที่มีการยกระดับของเจ้าไวรัสเสียด้วยสิครับ ขอให้ผ่านไปให้ได้ ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีสถานการณ์อะไรก็ตาม เราต้องผ่านไปให้ได้ และจะต้องยืนด้วยตนเอง จะรอความช่วงเหลือจากภาครัฐฯ เพราะรัฐฯ ก็ต้องช่วยตัวเองเช่นกัน

ขอขอบคุณบทความดีๆ จาก : คุณปรีชา ตรีสุวรรณ ประธานสมาพันธ์การค้าระหว่างประเทศ (Thailand Enterprise International Cooperation) หรือ TEIC

ข่าวล่าสุด

spot_img